Category: Facebook Advertising

  • 4 ปัจจัยที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายโฆษณา Facebook ลงได้

    ราคาค่าโฆษณาเป็นหนึ่งในสิ่งที่หลายๆคนมักจะรู้สึกกังวลมากๆ โดยเฉพาะการทำโฆษณาใน Facebook ที่ราคาถูกกำหนดจากการประมูลเพื่อแย่งชิงพื้นที่โฆษณาจากกลุ่มเป้าหมาย ทำให้ราคาค่าโฆษณาสามารถเป็นไปได้อย่างหลากหลาย บางคนจ่ายเท่ากันแต่ผลลัพธ์ที่ได้อาจจะแตกต่างกันไปลิบลับ การ Optimize โฆษณาเพื่อเพื่อให้จ่ายค่าโฆษณาต่ำที่สุดย่อมเป็นสิ่งที่ผู้ลงโฆษณาทุกคนต้องการเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสำหรับเว็บไซต์ E-commerce ที่การลดค่าโฆษณานั้นหมายถึงการลดต้นทุนที่เราต้องจ่ายให้กับการขายสินค้าให้เหลือน้อยลงไปด้วย ไม่ว่าจะต้องการคุณจะต้องการลดค่าใช้จ่ายต่อคลิกให้ถูกลง (Cost per Click) หรือ ต้องการจะลดค่าใช้จ่ายในการแสดงโฆษณาให้ครบหนึ่งพันครั้ง (Cost per 1,000 Impressions) การจะลดราคาโฆษณาให้ถูกลงได้ มันจะขึ้นอยู่กับ 4 ปัจจัยด้านล่างนี้ และไม่ใช่แค่การปรับข้อใดข้อหนึ่งเท่านั้นแต่ควรจะปรับทั้ง 4 ข้อไปพร้อมๆกันเลย 4 ปัจจัยที่จะกำหนดราคาโฆษณาใน Facebook ถึงแม้ผู้ลงโฆษณา 2 คนจะลงประมูลด้วยราคาที่เท่ากัน หรือ ต่อให้ใช้ Auto Bid เหมือนกันทั้งคู่ก็ตาม ราคาที่จะต้องจ่ายต่อ 1 คลิกหรือจ่ายต่อ 1,000 impressions ไม่จำเป็นจะต้องเท่ากัน (และโดยปกติแล้วมักจะแตกต่างกันมากๆ) เพราะมันขึ้นอยู่กับว่า Relevance Score ของโฆษณาแต่ละชิ้นเป็นอย่างไร, Result rate ที่ได้จากโฆษณาดีหรือไม่ ราคาโฆษณาจะไม่ถูกกำหนดจากจำนวนเงินที่ลงประมูลอย่างเดียวเท่านั้น […]

  • ไขข้อข้องใจ! Like กับ Follow เพจใน Facebook ต่างกันอย่างไร

    เวลาที่เราเข้าไปยังเพจต่างๆที่อยู่ใน Facebook เราก็สังเห็นว่ามันมีปุ่มอยู่ 2 อันที่อยู่ด้านบนของเพจคือ Like กับ Follow หลายๆคนอาจจะเกิดความสงสัยว่า Like กับ Follow นั้นแตกต่างกันอย่างไร และถ้าเราเป็นแอดมินของเพจตัวเลือกทั้ง 2 ปุ่มนี้จะส่งผลอะไรต่อผู้ติดตามของเราบ้าง ก่อนอื่นเราไปดูคำจัดกัดความของทั้ง 2 ปุ่มนี้กันก่อนครับ Like: คือการแสดงออกว่าชอบเพจนั้น เป็นการกดเพื่อถูกใจเพจ Follow: คือต้องการติดตามโพสที่มาจากเพจนั้น โดยปกติแล้วถ้าเรากด Like เพจใดก็ตามที่อยู่ใน Facebook ระบบจะทำการกด Follow ให้เราติดตามเพจนั้นโดยอัตโนมัติเพราะโดยธรรมชาติถ้าเราแสดงออกว่าเราชอบเพจนั้นเราก็พร้อมที่จะติดตามโพสของเพจนั้นๆด้วยอยู่แล้ว แต่เราสามารถเลือกที่จะ Unfollow เพื่อที่จะไม่ติดตามโพสของเพจนั้นได้เหมือนกัน แม้ว่าจะยังคงกดไลค์เพจนั้นอยู่ก็ตาม ผู้ใช้สามารถเลือกที่จะกดไลค์เพจของเราและทำการ Unfollow เพื่อไม่ติดตามโพสจากเราได้เหมือนกัน แปลว่าต่อให้เพจคุณจะมีคนกดไลค์เป็นล้านแต่ถ้าคนส่วนใหญ่เลือกที่จะ Unfollow ไม่ติดตามโพสของเพจ ผู้ติดตามก็จะไม่เห็นโพสของเพจอยู่ดี (โดยเฉพาะเพจที่ชอบให้กด Like เพื่อรับของรางวัล หลังจากนั้นก็พบว่าผู้ติดตามไม่ได้เพิ่มขึ้นมากเท่าไหร่) และเช่นกันผู้ใช้สามารถที่จะกด Follow เพื่อติดตามโพสจากเพจของเรา เพื่อดูโพสของเราใน feed ได้ตามปกติโดยไม่จำเป็นต้องกดไลค์เพื่อแสดงความถูกใจเพจก็ได้ คล้ายๆกับเวลาที่เราเล่น Facebook ปกติเราสามารถเลือกที่จะกด Follow บุคคลนั้นโดยไม่ต้องเป็นเพื่อนก็ได้ […]

  • บทวิเคราะห์ Facebook Explore Feed อัพเดตเดียวเสียวทั้งวง!

    ข่าวใหญ่ในวงการดิจิตอลในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาคือข่าวที่ Facebook กำลังทดสอบการแยกฟีดของโพสจากเพื่อนและครอบครัวออกจากโพสของเพจต่างๆซึ่งจะไปอยู่ใน Explore feed แทน การทดสอบนี้สร้างความตื่นตระหนกให้กับเจ้าของเพจใน Facebook เป็นอย่างมาก บทความนี้เราจะมาวิเคราะห์เรื่องนี้กันครับ เมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ Facebook ก็ได้ทำการ Roll out ให้มี Explore Feed เพิ่มใน Desktop แล้วโดยจะแสดงอยู่ในแถบเมนูด้านซ้ายมือเรียกว่า Explore Feed โพล่ขึ้นมา ก่อนไปวิพากย์วิจารณ์กันมากกว่านี้ เราไปดูกันก่อนว่า Explore feed คืออะไร Facebook Explore feed คืออะไร จริงๆแล้ว Explore feed มีมาสักพักใหญ่หลายเดือนแล้วครับ มันคือฟีดที่แยกออกมาจากฟีดปกติโดยจะแสดงโพสที่ระบบของ Facebook คิดว่าคุณน่าจะสนใจและเป็นโพสที่มาจากเพจที่คุณไม่ได้กดติดตามเอาไว้ หรือไม่ก็แสดงโพสจากเพจที่คุณเคยมี Engagement ด้วยแต่ไม่ได้ติดตามเพจนั้นอยู่เช่น เคยเข้าไปดูวิดีโอในเพจที่เพื่อนแชร์มา ข้อดีของ Explore Feed คือทำให้เราสามารถเข้าถึงเนื้อหาที่เราน่าจะสนใจได้ แม้ว่าเนื้อหานั้นจะไม่ได้มาจากเพจที่เราติดตามเพจอยู่เช่น วิดีโอบางตัวที่คนอื่นเขาดูกันทั้งบ้านทั้งเมืองแต่คุณดันไม่ได้ติดตามเพจที่โพสวิดีโอนั้น ก็เลยไม่ได้เห็นวิดีโอนั้น เจ้าวิดีโอตัวนี้ก็จะถูกหยิบมาใส่ใน Explore Feed หรือถ้าคุณชอบดูฟุตบอลมากๆคุณอาจจะเห็นวิดีไฮไลท์จากเพจที่ไม่ได้ติดตามอยู่ก็ได้ จุดประสงค์ที่ Facebook […]

  • 5 เหตุผลที่ทำให้ Click ใน Facebook ไม่เท่ากับ Session ใน Google Analytics

    หนึ่งในวิธีการเพิ่ม Traffic เข้าสู่เว็บไซต์ง่ายๆก็คือการจ่ายเงินซื้อโฆษณา และการซื้อโฆษณาที่ดีก็ต้องมีการวัดผลเพื่อตรวจสอบว่าสิ่งที่เราจ่ายไปนั้น เราได้อะไรกลับมาบ้าง คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปหรือไม่ แต่สิ่งที่เป็นปัญหาสุดคลาสสิคก็คือมีเดียที่ใช้ทำโฆษณากับเครื่องมือวัดผลมักจะเป็นคนละตัวกัน ดังเช่นหัวเรื่องของบทความนี้ ซึ่งเกิดจากการทำโฆษณาใน Facebook แล้ววัดผลด้วย Google Analytics มักจะให้ผลลัพธ์ที่คลาดเคลื่อนกันจากการวัดผล Traffic ที่เข้าสู่เว็บไซต์ ซึ่งเกิดขึ้นจากการหยิบเอา Click มาเทียบกับ Session ซึ่งแน่นอนว่ามันไม่เคยเท่ากัน แล้วสาเหตุมันเป็นเพราะอะไร เครื่องมือมันมั่วหรือว่ามันหลอกเราหรือเปล่า ก่อนที่จะสรุปไปเองแบบผิดๆ ผมอยากให้คุณได้อ่าน 5 เหตุผลที่มักจะทำให้ Click และ Session ไม่เท่ากัน ด้านล่างนี้ก่อนครับ Click และ Session ไม่ใช่ค่าเดียวกัน: Click คือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ใช้เห็นโฆษณาแสดงอยู่ใน News feed Facebook แล้วกดที่โฆษณานั้นเพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ ส่วน Session จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ใช้เข้ามาสู่เว็บไซต์แล้ว และเว็บไซต์ถูกโหลดขึ้นมาแสดงเรียบร้อยแล้ว โดยปกติ Google จะกำหนดให้ 1 Session มีอายุ 30 นาที หมายความว่าโดยธรรมชาติ Session […]

  • 5 สิ่งที่ต้องมองหาเวลาวัดผลโฆษณาในสื่อออนไลน์

    การวัดผลคือกิจกรรมที่ต้องทำเป็นเรื่องแรกๆหลังจากปล่อยโฆษณาออกไปแล้วแต่มันก็จะมาพร้อมข้อสงสัยอยู่เสมอว่าเวลาที่เรามองเข้าไปในตารางวัดผลแล้ว เราจะต้องพิจารณาอะไรตัวเลขอะไรบ้าง มีอะไรบางที่ต้องวิเคราะห์ เพราะตารางวัดผลเต็มไปด้วยตัวเลขมากมายให้เราหยิบมาตีความ คน 2 คนมองตารางเดียวกันเห็นตัวเลขตัวเดียวกันแต่อาจจะวิเคราะห์ได้ไม่เหมือนกันเช่นตารางแสดง CPM ที่ 50 บาท คนแรกอาจจะบอกว่าถูกแต่คนที่สองอาจจะบอกว่าแพง เมื่อต้องตีความตัวเลขมันกลายเป็นเรื่องของประสบการณ์แต่อีกส่วนหนึ่งมันเป็นเรื่องของการสังเกตด้วย ถ้าคุณเคยทำโฆษณามาหลายๆรูปแบบ เจอโจทย์หลายๆแบบ ก็จะเริ่มจับทางได้เองว่าต้องมองตัวเลขตัวใดบ้าง ข่าวดีคือเราไม่จำเป็นต้องดูทุกตัวเลข ไม่จำเป็นต้องตีความทุก Metric เพราะถ้าทำอย่างนั้นคงไม่เหลือเวลาไปทำอย่างอื่นกันพอดี ให้เราโฟกัสเฉพาะ Metric ที่มีความสำคัญและแสดงตัวเลขที่เราสามารถตีความหาสาเหตุของมันได้ก็พอ ซึ่งโดยปกติแล้วเวลาผมต้องวิเคราะห์ผลลัพธ์ของมีเดียก็มักจะมองหา 5 เรื่องต่อไปนี้เสมอ ดูความคุ้มค่าของเงินที่จ่าย: เรื่องเงินๆทองๆนั้นสำคัญเป็นอย่างมากๆและมันก็เลยกลายมาเป็นเรื่องแรกที่เราต้องดูก่อนเลยว่าเงินที่จ่ายออกไปนั้นคุ้มค่ากับผลลัพธ์ที่ได้กลับมาแล้วหรือยัง Metric ที่ใช้วิเคราะห์ความคุ้มค่าได้ดีก็คือ Cost per Conversion (หรือ CPA) หมายถึงราคาที่ต้องจ่ายต่อ 1 Conversion ที่ได้รับ แต่ถ้าโฆษณาของคุณไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อสร้าง Conversion ก็ให้ดูที่ CPC, CPM, CPV แทน แต่เท่าไหร่ที่เรียกว่าถูกหรือแพงนั้นแตกต่างไปตามบริบทของโฆษณานั้นๆ ดูเป็นไปตาม Objective มั้ย: อย่างที่สองคือการวิเคราะห์ว่าโฆษณาของเราสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดผลลัพธ์ที่เราต้องการได้หรือไม่ ถ้า Objective ของเราคือการสร้างยอดขายก็ต้องดูว่าโฆษณาสามารถทำให้เกิด Conversion มากเท่าที่ควรหรือเปล่า ขายได้ตามที่ต้องการหรือเปล่า […]